วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ค่านิยมวัยรุ่นไทย

ปัจจุบันเยาวชนอยู่ในสังคมที่เน้นเชิงทุนนิยมและวัตถุนิยมมากขึ้น ทำให้สุขภาพจิตแย่ลง ขณะเดียวกันสังคมรากฐาน คือ ครอบครัว ซึ่งเป็นสังคมหน่วยเล็กที่สุด ก็พบว่ามีปัญหามากขึ้น เพราะพ่อ แม่เหนื่อยกับการเลี้ยงลูก เครียดกับการเรียนของลูกและการสอบแข่งขันต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้พ่อแม่มือใหม่ไม่อยากมีลูก ส่งผลให้ปัจจุบันขนาดของครอบครัวเล็กลง แต่มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะขณะนี้ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึง 7.4 ล้านคน คาดว่าในปี 2568 ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 14,400,000 คน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาด้านสังคมที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
กล่าวว่า จากการสำรวจล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อความสุขของครอบครัวไทยพบว่า 62.42 % ครอบครัวไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดความรับผิดชอบ เกิดความแตกแยกในครอบครัวครอบครัวไม่อบอุ่น มีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่ยึดติดกับค่านิยมทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาคุณภาพของคนในครอบครัว โดยอัตราการจดทะเบียนหย่าได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว นอกจากนี้ยังพบว่าข้อมูลอัตราการตายของวัยรุ่นในประเทศไทยมาจากสาเหตุ 3 อันดับคือ 1.อุบัติเหตุ มีอัตราการตาย 12 คนต่อวัน หรือ 4,000 คนต่อปี 2.โรคเอดส์ มีการเสียชีวิต 80,000 คนต่อปี และ 3.การฆ่าตัวตาย 600 คนต่อปี หรือ 2 คนต่อวัน
ผลกระทบของปัญหา
ค่านิยมของเด็กไทยในยุคปัจจุบันที่เกิดจากการเลียนแบบทางสังคมที่สำคัญ 5 ด้าน พรหมลิขิต ติดยา บ้าแบรนด์เนม ติดเกม กลัวผี ซึ่งค่านิยมเหล่านี้มาจากเพื่อน สังคมรอบข้าง การโฆษณาชวนเชื่อ สื่อมวลชน ผู้นำทางความคิด" เป็นค่านิยมที่สะท้อนว่า เด็กไทยกำลังแสวงหาทางออกด้วยตัวของพวกเขาเอง ต้องการที่พึ่ง และชดเชยความสุขที่ขาดหายไป...? และ ยิ่งพิเคราะห์ดูแล้วเป็นคำกล่าวที่รู้สึกว่ารุนแรงในค่านิยมต่อเด็กและเยาวชนของเราที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงและรวดเร็วเพียงชั่วข้ามครึ่งทศวรรษ
ดังนั้น ค่านิยมนั้นเป็นข้อสรุปรวมของสังคมก็ย่อมหมายความว่า เป็นทัศนะที่รวมๆ กันของคนหมู่มากที่ทำตามกันไป อาจจะถูกหรือจะผิดก็ไม่อาจทราบได้ แต่เมื่อได้เฮตามกันไปแล้ว ค่านิยมที่เกิดใหม่อีกชั้นในขณะนั้นก็คือ การใช้กฎหมู่มาอยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งอาจสร้างปัญหาให้แก่สังคมเมื่อถูกชักนำไปในทางที่ผิด เช่น ช่วงหนึ่งผู้คนนิยมว่า การสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่เท่ห์ หรือสมาร์ท ก็สูบตามกันไป แล้วเดิม ค่านิยมของเด็กและเยาวชนไทยคืออะไรคือฝักใฝ่ในคุณธรรม เคารพผู้ใหญ่ กตัญญูรู้คุณ สนใจในการศึกษาเล่าเรียน เพื่อการเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมในอนาคต .... ใช่หรือไม่ แต่เพียงเราเดินข้ามสู่ทศวรรษใหม่ กลับพบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน จนสังคมไม่ทันหันกลับมามองและแก้ปัญหานั้นได้ นี่คือบาดแผลในจิตใจที่คนในหมู่เด็กและเยาวชนเราจำนวนมากที่ทำตามกันไป พรหมลิขิต ติดยา บ้าแบรนด์เนม ติดเกม กลัวผีเป็นคำกล่าว(หา)ที่ไม่มีข้อสงสัยแต่อย่างใด หรือมาเสียเวลาอธิบายแก้ตัวกันเป็นรายข้อ...... หรือ เพียงเท่านี้อาจจะยังน้อยไปในความรู้สึกของบางคน
ตัวอย่างค่านิยมของวัยรุ่นไทย
ผู้รับผลกระทบ (ทางธุรกิจอย่างไร)
การโฆษณามีผลกระทบต่อเยาวชน สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แต่ก็มีปัจจัยหลายประการ ที่เป็นข้อจำกัดไม่ให้โฆษณามีอิทธิพลอย่างมากมาย เช่น
1.ผู้บริโภคต่างมีความคิดเป็นตัวของตัวเอง เพราะผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นตนเองในสิ่งที่ถูกต้องและมีการวิเคราะห์โฆษณาด้วยปัจจัยหลายๆด้าน
2.กลุ่มอ้างอิงที่ดีจะช่วยสร้างสำนึกและเตือนสติผู้บริโภคที่หลงใหลในวัตถุนิยม จะเน้นทั้งกลุ่มที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มสถาบัน
3.นักโฆษณาซึ่งมีหน้าที่ในการสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพราะจะช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีและในทางเดียวกันสามารถสร้างสำนึกให้เกิดขึ้นเพื่อนสังคมได้เป็นอย่างดี
4.นักโฆษณาควรยึดจรรยาบรรณของนักวิชาชีพโฆษณา โดยเลือกสารโฆษณาที่มีคุณค่าเพื่อ ประโยชน์ในการรับสารโฆษณาของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
5.นักวางแผนสื่อโฆษณา ควรเลือกสื่อโฆษณาที่เหมาะสมกับผู้บริโภคตามลักษณะทาง ประชาชนศาสตร์ ภูมิศาสตร์และจิตวิทยา เพราะสื่อแต่ละประเภทมีความหลากหลายและแตกต่างกัน ทั้งข้อดีข้อเสีย และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
6.นักวางแผนสื่อโฆษณาควรวิเคราะห์พฤติกรรม การเปิดรับสื่อของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มที่แตกต่าง กัน การสร้างการเข้าถึงและความถี่ในการรับสารโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพจะมีผลต่อการรับรู้ และความสนใจของผู้บริโภคได้มาก
สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการแพร่หลายของปริมาณข่าวสารความรู้ รวมถึงความทันสมัยและความรวดเร็วของการพัฒนาเทคโนโลยี นำความเจริญไปพร้อมกันไปกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังนั้น ผู้บริโภคควรใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเลือกรับข่าวสารโฆษณาที่เหมาะสมกับตนเอง
ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา
การเสวนาดังกล่าวได้เสนอทางออกให้แก่สังคมไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
เด็กควรเรียนรู้ความเป็นจริง เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของสังคม โดยทุกระบบในสังคมต้องทำหน้าที่ฝึกสอนให้เด็กได้เรียนรู้ แต่กลับพบว่า หน้าที่ในการอบรมเด็กกลับถูกผลักภาระไว้ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ระบบโรงเรียนกลับมุ่งเน้นในเชิงวิชาการ แม้จะมีระบบคัดกรองเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อนำเข้าสู่การแก้ไขปัญหา
แต่กลไกเหล่านี้ยังไม่ถูกทำหน้าที่ จึงเห็นด้วยที่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูก ไม่ควรฝากภาระและอนาคตให้กับโรงเรียน โดยต้องมีระบบกลไกทางสังคมที่ช่วยให้ระบบครอบครัวมีความเข้มแข็ง มีทักษะและความรู้ความเข้าใจในการแนะนำลูกของตนเอง ซึ่งการสร้างระบบเครือข่ายผู้ปกครองสามารถทำได้
โรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ให้กลุ่มพ่อแม่ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของความเป็นผู้ปกครองเช่นมีห้องให้ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้คำปรึกษาการเลี้ยงดูลูกเพื่อให้เครือข่ายครอบครัวมีส่วนในการเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเด็กในโรงเรียนมากขึ้นทางออกเพียงเท่านี้จะเพียงพอหรือไม่อย่างไรสำหรับการแก้ไขปัญหาที่ยังคงเป็นแผลฉกาจฉกรรจ์ของวัยรุ่นไทย ในเมื่อผู้ใหญ่ในสังคมมีความคิดที่แตกแยกกันอย่างรุนแรงเช่นนี้ จนยากที่จะหาทางออกร่วมกันได้ มันย่อมเป็น แม่แบบทางความคิดหรือ สร้าง ค่านิยมใหม่ให้แก่เด็กไทยที่นับวันจะมุ่งไปสู่ ความรุนแรงเช่นเดียวกัน เพราะ...เราอยากได้ขนมหวานอะไร ก็ต้องใช้แม่แบบขนมหวานตัวนั้น เป็นเครื่องพิมพ์ให้ออกมาตามแบบ เราอยากได้ความรุนแรงเป็นเครื่องยุติความแตกแยกของสังคม เราอยากได้การยุติปัญหาแบบขาดวุฒิภาวะ ...ฤา? หรือเราได้ให้สังคม กลบเกลื่อนความผิดมาลบเลือนความชั่วของคนในสังคม เราก็จะได้เห็นเยาวชนของเราเดินตามรอยเท้านั้นในไม่ช้า


ที่มา : https://prezi.com/8i65_dl0uafk/presentation/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น